ในประเทศไทยเรานั้น งูพิษรุนแรง แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันนะคะ ได้แก่
- งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยมและ งูทับสมิงคลา งูเห่าและงูจงอางเป็นงูที่แผ่แม่เบี้ยได้ งูเห่าบางชนิดสามารถพ่นพิษได้ ถ้าพิษเข้าใส่ตา อาจทำให้ระคายเคืองจนตาบอดได้ นอกจากนี้มี งูสามเหลี่ยม ซึ่งมีลายดำสลับเหลือง และ งูทับสมิงคลามีลายดำสลับขาวเป็นปล้อง ส่วนงูทะเลเป็นงูที่มีพิษต่อระบบกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ และ ไตวายได้

- งูที่มีพิษผลต่อระบบโลหิต ทำให้เลือดไม่แข็งตัวและมีเลือดออกง่าย ได้แก่ งูแมวเซา ซึ่งพบมากทางภาคกลางและภาคตะวันออก งูกะปะ ซึ่งพบมากภาคใต้ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ทั้ง 2 ชนิดเป็นงูสีน้ำตาล งูแมวเซามีลายรูปวงรี และงูกะปะมีลายรูปสามเหลี่ยม ส่วน งูเขียวหางไหม้ พบมากในเขตกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีตัวสีเขียวและหางสีแดง มักอาศัยบนต้นไม้ นอกจากนี้มีงูลายสาบคอแดงซึ่งมีรายงานว่าทำให้เลือดออกไม่หยุดถึงตายได้

7 วิธี ป้องกันไม่ให้โดนงูกัด
- ดูแลสวนรอบบ้าน อย่าให้รกรุงรังมากเกินไป
- ท่อน้ำทิ้งควรมีฝาปิด หรือมีตะแกรงปิดเอาไว้
- เลี้ยงสุนัขไว้เห่าเตือน แต่ระวังไม่ควรให้สุนัขไปสู้งู อาจพลาดโดนพิษงูได้
- มีเลี้ยงสัตว์ในบ้านก็ดีแต่ต้องระวัง เพราะงูอาจเข้ามาหาเหยื่อได้โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงตัวเล็ก
- พยายามปิดรูที่รั้วบ้านตัวบ้าน หรือมีตะแกรงมีตาข่ายปิดรูต่างๆ ให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้
- ไม่ควรเดินในที่รกๆตอนมืดๆ
- ติดไฟส่องสว่างรอบบ้าน หรือ ในสวน
งูพิษ 7 ชนิด ที่คนไทยโดนกัดบ่อย
- งูเห่า (Cobra) เป็นงูพิษท่ีมีพิษรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต และมีอยู่ชุกชุมท่ัวทุกภาคของประเทศไทย เมื่อถูก รบกวนหรือตกใจจะแผ่แม่เบี้ยและพ่นลมออกมา ดังฟู่ๆ คล้ายเสียงขู่ จึงเรียกว่า “งูเห่า” งูเห่ามีหลาย ชนิด บางชนิดสามารถพ่นพิษได้ไกลถึง 1-2 เมตร เรียก ว่า “งูเห่าพ่นพิษ” (Naja siamensis) เมื่อพ่นพิษเข้า ตาจะทำให้เกิดอาการอักเสบรุนแรงจนตาบอดได้

- งูจงอาง (King cobra)
งูจงอาง เป็นงูพิษที่มีขนาดยาวท่ีสุดในโลก เคยพบยาวเกือบ 6 เมตร ลักษณะคล้ายงูเห่า แต่ตัวโต และยาวกว่ามาก งูจงอางสามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นกัน แตแม่เบี้ยจะแคบและยาวกว่างูเห่า งูจงอางมีสัญชาตญาณ ในการป้องกันตัวสูง เมื่อถูกรบกวนจึงดุร้าย งูจงอาง พบได้ในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางใต้ ถือว่าเป็นงูท่ีมีพิษ อันตรายร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นงูที่กินงูด้วยกัน เป็นอาหาร

- งูกะปะ (Malayan pit viper)
งูกะปะ เป็นงูขนาดเล็ก หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอคอดเล็ก ตัวมีสีน้ำตาลแดง มีลายรูปสามเหลี่ยมขนมเปียกปูน มีสีน้ำตาลเข้มตามสองข้างลำตัวมีกระดูกสันหลังนูนเป็นสัน ชอบขดตัวนอนนิ่งๆ อยู่ใต้กองใบไม้ ร่วง ใต้ก้อนหิน ขอนไม้ ไม่ชอบเคลื่อนไหว เวลาตกใจ ลำตัวจะแผ่แบนราบกับพื้น แต่สามารถฉกกัดได้ รวดเร็ว พบได้ทุกภาคของไทย แต่ชุกชุมทางภาคใต้

- งูเขียวหางไหม้ (Green pit viper) งูเขียวหางไหม้สีวนใหญ่มักจะมีลำตัวสีเขียว และหางสีแดง แต่ก็มีงูอื่นบางชนิดท่ีมีตัวสีเขียวหาง แดง แต่เป็นงูที่ไม่มีพิษ เช่น งูเขียวกาบหมาก ดังนั้นจึงไม่ใช่ตัวบ่งบอกที่ถูกต้องนัก การจะตัดสินใจว่า เป็นงูเขียวหางไหม้หรือไม่ ต้องดูท่ีส่วนหัว งูเขียวหาง ไหม้จะมีหัวค่อนข้างโตเป็นรูปสามเหลี่ยมเมื่อมองทาง ด้านบน คอเล็ก หัวมีแต่เกล็ดแผ่นเล็กๆ ปกคลุมอยู่ ไม่มีเกล็ดแผ่นใหญ่ ถ้าสังเกตให้ละเอียดจะพบว่า ระหว่างรูจมูกกับลูกตาของงูจะมีร่องลึกขนาดใหญ่อยู่ ข้างละ 1 ร่อง งูเขียวหางไหม้มักจะมีลำตัวอ้วน หรงสั้นน พบได้ท้ังบนพื้นดิน ที่มสถานท่ีสำหรับหลบซ่อนตัว และบนต้นไม้ งูชอบออกหากินในเวลากลางคืน

- งูแมวเซา (Russell’s viper) งูแมวเซา เป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรง กัดแล้วทำให้ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ ลักษณะตัวอ้วนสั้น หัวเป็น รูปสามเหลี่ยม เกล็ดบนหัวมีแต่เกล็ดเล็กๆ ลำตัวสั้นสีน้ำตาลอ่อน มีลายเป็นดวงๆ ขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม อยู่ที่ด้านข้าง และหลังำตัว เมื่องูถูกรบกวนจะสูดลม เข้าจนตัวพอง แล้วพ่นลมออกมาทางจมูกเป็นเสียงขู่ น่ากลัวจึงเรียก งูแมวเซา งูชนิดน้ีฉกกัดได้ว่องไว พบ ชุกชุมในภาคกลาง

- งูสามเหลี่ยม (Banded krait)
งูสามเหลี่ยม เป็นงูที่มีแนวกระดูกสันนหลังยกเป็น สันสูงลำตัวคล้าสามเหลี่ยม มีลำตัวเป็นปล้อง ดำสลับเหลือง ปลายหางกุดทู่ทุกตัว งูสามเหลี่ยมชอบอาศัยในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ท่ีลถ่ายมใกล้แหล่งน้ำ งูสามเหลี่ยมจะค่อนข้างเฉื่อยชาในเวลากลางวัน แต่จะปราดเปรียวในเวลากลางคืนเมื่อออกหากิน พบได้ทุกภาค แต่พบมากทางภาคตะวันออก ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เป็นงูที่มีพิษรุนแรง เป็นอันตรายถึงชีวิต

- งูทับสมิงคลา (Malayan krait) งูทับนมิงคลา เป็นงูท่ีมีรูปร่างคล้ายงูสามเหลี่ยม แต่ตัวเล็กกว่า ลำตัวเป็นปล้องดำสลับขาว หางยาว เรียว ชอบอยู่ในท่ีชื้นแฉะเช่นเดียวกับงูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลามีพิษรุนแรงมาก เป็นอันตรายถึงชีวิต พบ มากทางภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคใต้

ข้อควรปฏิบัติ 7 ข้อ ในกรณีโดนงู (หรืองูพิษ) กัดแล้ว
- สำคัญที่สุด คือ ทุกคนต้องมีสติ อย่าตื่นตระหนกจนทำอะไรไม่ถูก ถ้าตกใจมากเกินไปอาจมีอาการแปลกๆเยอะ ที่ไม่ได้เกิดจากพิษงูก็ได้
- ต้องรีบพยายามจดจำลักษณะของงู ให้มากที่สุด ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ สามารถถ่ายรูปหรือคลิปได้ก็ถ่าย (ถ้าไม่อันตราย)
- ไปโรงพยาบาลให้ไวที่สุด อาจเลือกใกล้ที่สุดก็ได้ ควรมีเบอร์โทรศัพท์ของ โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือค้นหาเบอร์ไม่ยาก ในระหว่างเดินทาง ก็อาจโทรแจ้งเหตุให้แพทย์ที่ โรงพยาบาลทราบเพื่อเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า
- ไม่ให้ขันชะเนาะ หรือมัดเหนือแผล เพราะไม่ช่วยกันพิษเข้าส่วนอื่นของร่างกาย ไม่ควรใช้น้ำลาย สมุนไพรไปปิดแผลหรือรอยกัด เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไปได้
ในกรณีมัดแน่นไป ทำให้อวัยวะปลายทางขาดเลือดไปเลี้ยงได้ - ขยับส่วนที่โดนกัดให้น้อยที่สุด เพื่อมิให้พิษงูดูดซึมหรือแพร่ไปส่วนอื่นได้ไวขึ้น
- ถ้าโดนพิษงูที่บริเวณตา ควรล้างน้ำเปล่าให้มากที่สุด ถ้าโดนกัดที่ตัวก็ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดเบาๆ
- ในกรณีที่เหมือนผู้ถูกกัดขยับตัวไม่ได้ หรือคล้ายเป็นอัมพาตคล้ายเสียชีวิต ให้ระวังเพราะพิษงูบางชนิดมีผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง คล้ายอัมพาต เช่นงูเห่า งูจงอาง แต่ยังมีชีพจรอยู่ ต้องดูแล ตามดู ระบบการหายใจต่อ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลก่อนที่จะมีปัญหาระบบหายใจ
อ้างอิงจาก
งูมีพิษกัด
- งูพิษในประเทศไทย อาการต่างๆ หลังถูกงูแต่ละชนิดกัด ความรู้อื่นๆ
https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/snake
- ตารางวิธีการแยกชนิดของงูพิษที่พบบ่อยในไทย
https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/snake_T1